Wednesday, September 4, 2013

What kind of the Lights ประเภทของแสงสว่าง




แสงสว่างถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ตื่นนอน เดินทาง ทำงาน ทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ ช็อปปิ้ง ออกกำลังกาย พักผ่อน จนกระทั่งเข้านอน เราจะมีแสงสว่างอยู่รอบๆ ตัวเสมอ แสงสว่างยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน แสงและเงาทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

ในการออกแบบไฟแสงสว่างเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนในงานสถาปัตยกรรม ให้เกิดมิติความสวยงาม สร้างบรรยากาศและความปลอดภัยสำหรับอาคาร การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเกร็ดความรูŒเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้แสงสว่างสร้างบรรยากาศในแต่ละพื้นที่ได้ดี

ชนิดของหลอดไฟฟ้า

หลอดไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
        1.) หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ หรือหลอดเผาไส้ เป็นหลอดมีไส้ที่มีประสิทธิผล (Efficacy) ต่ำ และมีอายุการใช้งานสั้นในเกณฑ์ประมาณ 1,000-3,000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,800 องศาเคลวิน แต่ให้แสงที่มีค่าความถูกต้องของสี 100 %
        2.) หลอดปล่อยประจุ เป็นหลอดที่ไม่ต้องใช้ไส้หลอด หลอดในตระกูลนี้ ได้แก‹

หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ หลอดเป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบคือ Daylight, Cool white และ Warm white ชนิดของหลอดที่ใช้งานกันทั่วไปคือแบบ Linear ขนาด 18 และ 36 วัตต์ และ Circular 22, 32 และ 40 วัตต์  และมีประสิทธิผลประมาณ 50-90 ลูเมนต่อวัตต์ ถือได้ว่าสูงพอสมควรและประหยัดค่าไฟฟ้าเมื่อเทียบกับหลอดอินแคนเดสเซ็นต์ซึ่งมีค่าประมาณ 5-13 ลูเมนต่อวัตต์ และมีอายุการใช้งาน 9,000-12,000 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีหลอดฟลูออเรสเซ็นต์รุ่นใหม่ คือหลอดที่มีฟลักซ์การส่องสว่างสูง ประสิทธิภาพสูง หรือที่เราเรียกวา‹“หลอด T5” หลอดฟลูออเรสเซ็นต์รุ่นใหม่นี้มีขนาดเล็กมาก คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 16 mm (หรือ 5/8 นิ้ว) มีรหัสเรียกว่า หลอด T5 แต่หลอดประเภทนี้จะต้องใช้ร่วมกับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์

หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซ็นต์ เป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบ คือ Daylight, Cool white และ Warm white เช่นเดียวกันกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ แบบที่ใช้งานกันมากคือ หลอดเดี่ยว มีขนาดวัตต์ 5, 7, 9, 11 วัตต์และหลอดคู‹ มีขนาดวัตต์ 10, 13, 18, 26 วัตต์ เป็นหลอดที่ พัฒนาขึ้นมาแทนที่หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ โดยมีประสิทธิผลสูงกว่าหลอดอินแคนเดสเซ็นต์ คือประมาณ 35-80 ลูเมนต่อวัตต์ และอายุการใช้งานประมาณ 7,500-10,000 ชั่วโมง

หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ หลอดประเภทนี้มีสีเหลืองจัดและประสิทธิผลมากที่สุดในบรรดาหลอดทั้งหมด คือมีประสิทธิผลประมาณ 100-180 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ความถูกต้องของสีน้อยที่สุด คือ มี ความถูกต้องของสีเป็น 0-20 % ข้อดีของแสงสีเหลืองเป็นสีที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ดีที่สุด หลอดประเภทนี้จึงเหมาะที่จะใช้เป็นไฟถนน และอายุการใช้งานนานประมาณ 22,000-24,000 ชั่วโมงหลอดมีขนาดวัตต์ 18, 35, 55, 90, 135 และ180 วัตต์

หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดโซเดียมความดันไอสูงมีประสิทธิผลรองจากหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ มีประสิทธิผลประมาณ 70-130 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ความถูกต้องของสีดีกว่าหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ 30-50 % และมีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 เคลวิน ซึ่งจัดว่าเป็นอุณหภูมิสีต่ำเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความส่องสว่างมาก เช่น ไฟถนน ไฟในบริเวณที่ต้องการความส่องสว่างประมาณ 5-30 ลักซ์ และอายุการใช้งานประมาณ 18,000-24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 70, 100, 150, 250, 400 และ 1,000 วัตต์

หลอดไอปรอทความดันสูง หรือที่ชาวบ้านเรียกวา‹ หลอดแสงจันทร์ และมีประสิทธิผลสูงพอกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์คือ มีประสิทธิผลประมาณ 30-60 ลูเมนต่อวัตต์ แสงที่ออกมามีความถูกต้องของสีประมาณ 60 % ส่วนใหญ่ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อต้องการกำลังไฟ (วัตต์) สูงๆในพื้นที่ที่มีเพดานสูง อุณหภูมิสีประมาณ 4,000 -6,000 เคลวิน แล้วแต่ชนิดของหลอด และอายุการใช้งานประมาณ 20,000-24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 80, 125, 250, 400, 700 และ 1,000 วัตต์

หลอดเมทัลฮาไลด์ เหมือนกับหลอดปล่อยประจุอื่นๆ แต่มีข้อดี คือ มีสเปกตรัมแสงทุกสีทำให้สีที่ได้ทุกชนิดเดน‹ ภายใต้หลอดชนิดนี้ นอกจากความถูกต้องของสีสูงแล้วแสงที่ออกมาก็อาจมีอุณหภูมิสีตั้งแต่ 3,000-4,500 เคลวิน (ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตต์) ส่วนใหญ่ นิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000-15,000 ชั่วโมง. และมีขนาดวัตต์  100, 125, 250, 300, 400, 700 และ 1,000 วัตต์ 

หลอดแอลอีดี (LED) หลอดชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า Light Emitting Diode เรียกย่อๆ ว่า LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ มีลักษณะโครงสร้างภายในเป็นรอยต่อของสาร p และสาร n หรือที่เราเรียกว่า pn Junction เหมือนกับไดโอด สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของสารกึ่งตัวนำที่ใช้หลอดชนิดนี้ใช้งานกับไฟฟ้ากระแสตรง ดังนั้นหากจะนำมาใช้ในอาคารต้องมีอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า กระแสสลับให้เป็นกระแสตรงก่อนการใช้งานหลอด LED มีค่าประสิทธิผลอยู่ที่ประมาณ 40 ถึง 45 lm/W การเพิ่มกำลังการส่องสว่างของ LED ทำได้โดยการต่อ LED เล็กๆ หลายหลอดไว้บนแผงเดียวกัน โดยมักจะนำมาใช้แทนหลอดทังสเตนฮาโลเจน หรือนำไปใช้เป็นไฟส่องเฉพาะจุด เนื่องจากไม่มีการแผ่รังสียูวีและอินฟราเรด - See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=7923#sthash.L2lnsBKm.dpuf

อุณหภูมิสี (Color Temperature)

การบอกสีทางด้านการส่องสว่างมักบอกด้วยอุณหภูมิสี ซึ่งหมายถึงสีที่เกิดจากการเผาไหมŒวัสดุสีดำซึ่งมีการดูดซับความร้อนได้สมบูรณด้วยอุณหภูมิที่กำหนด เช่น หลอดฟลูออเรสเซ็นต์คูลไวท์มีอุณหภูมิสี 6500 องศาเคลวิน หมายถึง เมื่อเผาวัตถุสีดำให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 6500 เคลวิน วัตถุนั้นจะเปล่งแสงออกมาเป็นสีคูลไวท์หรือขาวปนน้ำเงิน เป็นต้น ตัวอย่างอุณหภูมิสีของหลอดต่างๆ เป็นดังนี้

เทียนไข 1900 เคลวิน
หลอดทังสเตนฮาโลเจน 2700 เคลวิน
หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 2800 เคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซ็นต์
    - เดย์ไลท์ (Daylight) 6500 เคลวิน
    - คูลไวท์ (Cool White) 4500 เคลวิน
    - วอร์มไวท์ (Warm White) 3500 เคลวิน

ค่าประสิทธิผล (Effi cacy)
หมายถึง ปริมาณแสงที่ออกมาต่อวัตต์ที่ใช้ (ลูเมนต่อวัตต์) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูง หมายความว่าหลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้วัตต์ต่ำตัวอย่างค่าประสิทธิผลของหลอดไฟชนิดต่างๆ เช่น หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 5-13 ลูเมน/วัตต์ หลอดทังสเตนฮาโลเจน 12-22 ลูเมน/วัตต์ หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ 50-90 ลูเมน/วัตต์หลอดแสงจันทร์ 35-80 ลูเมน/วัตต์ หลอดแสงจันทร์แบบไม่มีบัลลาสต์ 30-60 ลูเมน/วัตต์หลอดแสงจันทร์แบบมีบัลลาสต์ 30-60 ลูเมน/วัตต์ หลอดเมตัลฮาไลด์ 60-120 ลูเมน/วัตต์หลอดโซเดียมความดันสูง 70-130 ลูเมน/วัตต์ หลอดโซเดียมความดันต่ำ 100-180 ลูเมน/วัตต์

ความถูกต้องของสี (Color rendering) หมายถึง สีที่ส่องไปถูกวัตถุให้ความถูกต้องของสีมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น เปอร์เซ็นต์หลอดที่มีค่าความถูกต้อง 100% หมายความว่าเมื่อใช้หลอดนี้ส่องวัตถุชนิดหนึ่งแล้ว สีของวัตถุที่เห็นไม่มีความเพี้ยนของสี ตัวอย่างค่าดัชนีความถูกต้องของสีของหลอดไฟชนิดต่างๆ ชนิดของหลอด CRI (Color Rendering index) เช่น หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 100 CRI หลอดทังสเตนฮาโลเจน 100 CRI หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ 60-90 CRI หลอดแสงจันทร์ 80-90 CRI หลอดแสงจันทร์แบบมีบัลลาสต์ 40-60 CRI หลอดเมตัลฮาไลด์ 40-60 CRI หลอดโซเดียมความดันสูง 60-90 CRI หลอดโซเดียมความดันต่ำ 30-50 CRI

นอกจากนี้ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโคมไฟฟ้าที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอีกเช่นกัน

        1. ความปลอดภัยของโคม โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยตามเกณฑ์ด้วย เช่น ต้องไม่มีคมจนอาจเกิดอันตราย ต้องมีระบบการต่อลงดินในกรณีที่ใช้กับฝ้าสูงเพื่อไม่เป็นอันตรายกับคนที่มาเปลี่ยนหลอด
        2. ประสิทธิภาพของโคมไฟฟ้า (Luminaire Efficiency) โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานหมายถึงโคมที่มีประสิทธิภาพของโคมสูงที่สุด คือ ให้ปริมาณแสงออกมาจากตัวโคมเมื่อเทียบกับปริมาณแสงที่ออกจากหลอดให้มีค่าสูงที่สุด
        3. ค่าสัมประสิทธิ์การใช้งานของโคมไฟฟ้า (Coefficients of Utilization) ค่าที่ได้จากการวัดประสิทธิภาพของโคม โดยที่รวมผลของความสูงและสัมประสิทธิของการสะท้อนของผนังและเพดานโดยผู้ผลิต
        4. แสงบาดตาของโคม (Glare) เป็นค่าที่แสดงคุณภาพแสงของโคม ต้องเลือกโคมที่มีแสงบาดตาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
        5. กราฟการกระจายแสงของโคม (Distribution Curve) โคมมีหลายชนิดด้วยกันแต่ละโคมก็มีกราฟกระจายแสงของโคมต่างกัน การนำโคมไปใช้ต้องเลือกกราฟกระจายแสงของโคมที่เหมาะสมกับงาน
        6. การระบายความร้อนของโคม โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรจะมีการระบายความร้อนได้ดี ถ้ามีอุณหภูมิสะสมในโคมมากเกินไปอาจทำให้ปริมาณแสงที่ออกจากหลอดลดลง เช่น โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคก์ถ้าไม่มีการระบายความร้อนที่ดีปริมาณลดลงถึง 40% เป็นต้น
        7. อายุการใช้งาน โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานต้องพิจารณาอายุการใช้งานด้วย เช่น โคมต้องทำด้วยวัสดุที่สามารถใช้งานได้นานตามที่ต้องการโดยไม่ผุกร่อนและไม่มีการเปลี่ยนรูปเมื่อมีการบำรุงรักษาเนื่องจากการเปลี่ยนหลอดหรือทำความสะอาด
        8. สถานที่ติดตั้ง การเลือกใช้โคมแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำไปใช้งานอะไรบ้างต้องการคุณภาพแสงมากน้อยเพียงใด หรือเน้นในเรื่องของปริมาณแสงแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีการป้องกันทางกล ป้องกันน้ำ ฝุ่นผงมากน้อยเพียงใด

โดยเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการออกแบบแสงสว่างส่วนใหญ่จะเน้นถึงการประหยัดพลังงาน จึงมีการเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED เพื่อการตกแต่งและการใช้งานภายในอาคารกันมากขึ้น

ในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่ได้เข้ามาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการเปลี่ยนหลอดไฟมาใช้หลอด LED ที่ประหยัดพลังงานได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจการประหยัดพลังงานด้วยการหันมาใช้หลอดประหยัดไฟกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าแสงสว่างแล้วยังสามารถช่วยรัฐลดการลงทุนด้านโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่งรวมถึงการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้จากอาคารหลายๆ แห่งภายในเมือง

โดยบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างครบวงจร นับตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า นอกจากนี้บริษัทยังมีบริการเสริมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากที่สุด อาทิ แนะนำ การใช้ผลิตภัณฑ์รวมทั้งออกแบบระบบแสงสว่างให้เหมาะกับ ลักษณะของงาน ตลอดจนการให้บริการเช่าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับงานต่างๆ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความหลากหลายและครบครันสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่ใช้ไฟฟ้าแสงสว่างได้ทุกกลุ่ม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังคอยตอบสนองการออกแบบแสงสว่างเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้นายปกรณ์ บริมาสพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L&E ได้กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตของบริษัทฯ ว่า “บริษัทฯพร้อมเดินหน้าขยายฐานตลาดหลอด LED ประหยัดพลังงานอย่างเต็มตัว ทั้งตลาดค้าส่งตลาดค้าปลีก และตลาดลูกค้าองค์กร ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าวกำลังได้รับการตอบรับจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างดีเยี่ยมเนื่องจากเป็นนวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างล่าสุดและสามารถประหยัดพลังงานได้มากที่สุด สามารถรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ประกอบกับบริษัทฯ มีความพร้อมทั้งโรงงานการผลิต เทคโนโลยีรวมทั้งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยได้สร้างโรงงานผลิต ผลิตภัณฑ์ LED ขึ้น ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเป็นโรงงานแรกที่ผลิตหลอด LED ในประเทศไทย และพัฒนาสินค้าลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จนสามารถรองรับได้ทุกความต้องการของลูกค้า

ปัจจุบันเทคโนโลยี หลอดไฟLED ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วประสิทธิภาพหลอดไฟเพิ่มสูงขึ้นและราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ LED ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ประกอบการรวมทั้งสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าแสงสว่างคาดการณ์กันว่าภายในปี 2559 ผลิตภัณฑ์ LED จะมีส่วนแบ่งตลาดถึง 45% ของตลาดผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างทั้งหมดซึ่งหมายถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลอด LED ซึ่ง L&E ฐานะผู้นำในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่างของไทยและภูมิภาคอาเซียน เล็งเห็นถึงโอกาสดังกล่าวและพร้อมจะรองรับกับทุกความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่มค้าส่ง กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับทุกความต้องการของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ในราคาที่สมเหตุสมผล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น บริษัทฯ กำลังจะสร้างโรงงานแห่งใหม่ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 เพื่อรองรับกับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตด้วย”

No comments:

Post a Comment