Thursday, November 14, 2013

วิธีป้องกันเหตุพลิงรุกรานตามสถานที่ต่างๆ

Thank you for visited We hope  all visited can find details about information on my website




ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและ เสมอไปเพราะ อัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน "ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ" และความประมาทเลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัยในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ ควรปฏิบัติ เฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ

1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย

2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่อง
จักรกล เครื่องทำความร้อน ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น

3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น
 (1) อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
 (2) อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้
 (3) อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
 (4) อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้เสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
 (5) อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิดปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน
 (6) อาจมีเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์ แล้วลืมปิด
 (7) วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น
 (8) อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม้ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไออุ่นอาจ เกิดการคุไหม้ขึ้น
 (9) อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับ หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
 (10) อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้
 (11) อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้
 (12) อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราแลเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
 (13) อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ
 (14) ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและถังแก๊สให้เรียบร้อย
 (15) เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบาง ๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้ เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้
 (16) ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด
 (17) เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตราย จากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
 (18) เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้อง เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้อย่างแน่นอน
 (19) เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว
 (20) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำมันเบนซิน เกิดการรั่ว ไหลก็น่าเกิด อัคคีภัยขึ้นได้
 (21) ในสถานที่บางแห่งมีการเก็บรักษาเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย อาจ คุไหม้ขึ้นได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและน้ำมันลินสีด เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของ โรงเรียน เคยมีเหตุ เกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัด ตกลงมา เกิดแตกลุกไหม้ขึ้น
 (22) ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟ การตัดเชื่อมโลหะด้วย แก๊สหรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วย ความระมัดระวัง อาจเกิดไฟ คุไหม้ขึ้นได้

4. ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ ให้ไว้ และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วาง ไว้เพื่อความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ

5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมี ไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะ ต้องปฏิบัติดังนี้
 (1) แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิงสถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
 (2) ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
 (3) หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อ ทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเพลงไหม้
 (1) ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปอยู่ที่ปลอดภัย
 (2) อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหตุ
 (3) ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกอง รวมอย่าให้ ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก

ข้อควรระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว
 (1) เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที
 (2) เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง
 (3) ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว
 (4) ใช้ไม้กวาดกวาดแก๊สออกทางประตู
 (5) ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที
 (6) หากถังแก๊สมีรอยรั่วให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย
 (7) ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ
 (8) ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอทำอย่างไรให้เกิดเพลิงไหม้มีน้อยที่สุด
      
จาก เบื้องต้นที่กล่าวมาได้เน้นถึงลักษณะและหลักการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น แต่ทั้งนี้จะเป็นการดีมากหากเราสามารถป้องกัน มิให้เกิดเพลิงไหม้ ขึ้นเลย เพราะไม่ว่าเพลิงไหม้จะเกิดขึ้นเล็กน้อยก็จะนำมาซึ่งความเสีย หายทางทรัพย์สินเงินทอง เวลา หรือแม้กระทั่งสุขภาพจิต

Tuesday, November 12, 2013

วิธีการจัดการของการแยกประเภทของขยะ

Thank you so much for spend your time visited my website, we try to research information for you, 







ในช่วงที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเพลิงไหม้บ่อเก็บขยะอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นก่อให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้พักอาศัยบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก ในท่ามกลางกลุ่มควันไฟนั้นทางผู้เขียนสังเกตเห็นกองขยะมหึมา จึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เหตุใดขยะจึงมีมากมายมหาศาลขนาดนี้ และทำอย่างไรเราจึงจะสามารถลดปริมาณขยะเหล่านั้นได้ ทำให้นึกถึงโครงการก่อสร้างอาคารเขียว ที่มีกระบวนการลดปริมาณขยะตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอาคารจนกระทั่งมีการใช้อาคาร ทั้งนี้ทางผู้เขียนขอยกตัวอย่าง “หัวข้อ EP P2การบริหารจัดการขยะ” ซึ่งมาตรฐาน TREES กำหนดให้เป็นข้อบังคับให้ดำเนินการ โดยกำหนดให้ดำเนินการ 2 หัวข้อหลักคือ
1. ออกแบบอาคารหรือโครงการให้มีพื้นที่หรือห้องคัดแยกขยะและเก็บเศษวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องมีความมิดชิดและเข้าถึงง่าย
2. มีจุดทิ้งขยะที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในแต่ละชั้นของอาคาร หรือส่วนของอาคาร โดยจุดทิ้งขยะดังกล่าวต้องมีถังคัดแยกขยะ ได้แก่ ขยะเปียก ขยะอันตราย และขยะแห้งที่มีการคัดแยกเป็นประเภท เช่น กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก เป็นอย่างน้อย
เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้อาคารจะต้องมีการจัดเตรียมจุดทิ้งขยะแต่ละชั้นหรือตามความเหมาะสม และจุดทิ้งนั้นควรจะมีการแยกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้อาคารเป็นผู้คัดแยกขยะเบื้องต้นก่อนทิ้ง สุดท้ายเพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่รับผิดชอบนำขยะเหล่านั้นไปคัดแยกและจัดเก็บในห้องเก็บต่อไปอีกด้วย
การจัดเตรียมห้องเก็บขยะรีไซเคิล และจุดทิ้งขยะเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อผู้ใช้อาคารนั้นเป็นเพียงแค‹ส่วนหนึ่งของการลดปริมาณขยะที่จะถูกส่งไปที่บ่อขยะเพื่อการฝังกลบ แต่หากเราต้องการ “ลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน” นั้นเราต้องเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะ โดยที่ผู้ทิ้งนั้นจะต้องมีการแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้ง จึงถือได้ว่าเป็นการลดปริมาณขยะอย่างแท้จริงและเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Wednesday, September 4, 2013

What kind of the Lights ประเภทของแสงสว่าง




แสงสว่างถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ตื่นนอน เดินทาง ทำงาน ทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ ช็อปปิ้ง ออกกำลังกาย พักผ่อน จนกระทั่งเข้านอน เราจะมีแสงสว่างอยู่รอบๆ ตัวเสมอ แสงสว่างยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน แสงและเงาทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

ในการออกแบบไฟแสงสว่างเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนในงานสถาปัตยกรรม ให้เกิดมิติความสวยงาม สร้างบรรยากาศและความปลอดภัยสำหรับอาคาร การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเกร็ดความรูŒเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้แสงสว่างสร้างบรรยากาศในแต่ละพื้นที่ได้ดี

ชนิดของหลอดไฟฟ้า

หลอดไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
        1.) หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ หรือหลอดเผาไส้ เป็นหลอดมีไส้ที่มีประสิทธิผล (Efficacy) ต่ำ และมีอายุการใช้งานสั้นในเกณฑ์ประมาณ 1,000-3,000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,800 องศาเคลวิน แต่ให้แสงที่มีค่าความถูกต้องของสี 100 %
        2.) หลอดปล่อยประจุ เป็นหลอดที่ไม่ต้องใช้ไส้หลอด หลอดในตระกูลนี้ ได้แก‹

หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ หลอดเป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบคือ Daylight, Cool white และ Warm white ชนิดของหลอดที่ใช้งานกันทั่วไปคือแบบ Linear ขนาด 18 และ 36 วัตต์ และ Circular 22, 32 และ 40 วัตต์  และมีประสิทธิผลประมาณ 50-90 ลูเมนต่อวัตต์ ถือได้ว่าสูงพอสมควรและประหยัดค่าไฟฟ้าเมื่อเทียบกับหลอดอินแคนเดสเซ็นต์ซึ่งมีค่าประมาณ 5-13 ลูเมนต่อวัตต์ และมีอายุการใช้งาน 9,000-12,000 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีหลอดฟลูออเรสเซ็นต์รุ่นใหม่ คือหลอดที่มีฟลักซ์การส่องสว่างสูง ประสิทธิภาพสูง หรือที่เราเรียกวา‹“หลอด T5” หลอดฟลูออเรสเซ็นต์รุ่นใหม่นี้มีขนาดเล็กมาก คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 16 mm (หรือ 5/8 นิ้ว) มีรหัสเรียกว่า หลอด T5 แต่หลอดประเภทนี้จะต้องใช้ร่วมกับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์

หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซ็นต์ เป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบ คือ Daylight, Cool white และ Warm white เช่นเดียวกันกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ แบบที่ใช้งานกันมากคือ หลอดเดี่ยว มีขนาดวัตต์ 5, 7, 9, 11 วัตต์และหลอดคู‹ มีขนาดวัตต์ 10, 13, 18, 26 วัตต์ เป็นหลอดที่ พัฒนาขึ้นมาแทนที่หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ โดยมีประสิทธิผลสูงกว่าหลอดอินแคนเดสเซ็นต์ คือประมาณ 35-80 ลูเมนต่อวัตต์ และอายุการใช้งานประมาณ 7,500-10,000 ชั่วโมง

หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ หลอดประเภทนี้มีสีเหลืองจัดและประสิทธิผลมากที่สุดในบรรดาหลอดทั้งหมด คือมีประสิทธิผลประมาณ 100-180 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ความถูกต้องของสีน้อยที่สุด คือ มี ความถูกต้องของสีเป็น 0-20 % ข้อดีของแสงสีเหลืองเป็นสีที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ดีที่สุด หลอดประเภทนี้จึงเหมาะที่จะใช้เป็นไฟถนน และอายุการใช้งานนานประมาณ 22,000-24,000 ชั่วโมงหลอดมีขนาดวัตต์ 18, 35, 55, 90, 135 และ180 วัตต์

หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดโซเดียมความดันไอสูงมีประสิทธิผลรองจากหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ มีประสิทธิผลประมาณ 70-130 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ความถูกต้องของสีดีกว่าหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ 30-50 % และมีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 เคลวิน ซึ่งจัดว่าเป็นอุณหภูมิสีต่ำเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความส่องสว่างมาก เช่น ไฟถนน ไฟในบริเวณที่ต้องการความส่องสว่างประมาณ 5-30 ลักซ์ และอายุการใช้งานประมาณ 18,000-24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 70, 100, 150, 250, 400 และ 1,000 วัตต์

หลอดไอปรอทความดันสูง หรือที่ชาวบ้านเรียกวา‹ หลอดแสงจันทร์ และมีประสิทธิผลสูงพอกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์คือ มีประสิทธิผลประมาณ 30-60 ลูเมนต่อวัตต์ แสงที่ออกมามีความถูกต้องของสีประมาณ 60 % ส่วนใหญ่ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อต้องการกำลังไฟ (วัตต์) สูงๆในพื้นที่ที่มีเพดานสูง อุณหภูมิสีประมาณ 4,000 -6,000 เคลวิน แล้วแต่ชนิดของหลอด และอายุการใช้งานประมาณ 20,000-24,000 ชั่วโมง มีขนาดวัตต์ 50, 80, 125, 250, 400, 700 และ 1,000 วัตต์

หลอดเมทัลฮาไลด์ เหมือนกับหลอดปล่อยประจุอื่นๆ แต่มีข้อดี คือ มีสเปกตรัมแสงทุกสีทำให้สีที่ได้ทุกชนิดเดน‹ ภายใต้หลอดชนิดนี้ นอกจากความถูกต้องของสีสูงแล้วแสงที่ออกมาก็อาจมีอุณหภูมิสีตั้งแต่ 3,000-4,500 เคลวิน (ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตต์) ส่วนใหญ่ นิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000-15,000 ชั่วโมง. และมีขนาดวัตต์  100, 125, 250, 300, 400, 700 และ 1,000 วัตต์ 

หลอดแอลอีดี (LED) หลอดชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า Light Emitting Diode เรียกย่อๆ ว่า LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ มีลักษณะโครงสร้างภายในเป็นรอยต่อของสาร p และสาร n หรือที่เราเรียกว่า pn Junction เหมือนกับไดโอด สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของสารกึ่งตัวนำที่ใช้หลอดชนิดนี้ใช้งานกับไฟฟ้ากระแสตรง ดังนั้นหากจะนำมาใช้ในอาคารต้องมีอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า กระแสสลับให้เป็นกระแสตรงก่อนการใช้งานหลอด LED มีค่าประสิทธิผลอยู่ที่ประมาณ 40 ถึง 45 lm/W การเพิ่มกำลังการส่องสว่างของ LED ทำได้โดยการต่อ LED เล็กๆ หลายหลอดไว้บนแผงเดียวกัน โดยมักจะนำมาใช้แทนหลอดทังสเตนฮาโลเจน หรือนำไปใช้เป็นไฟส่องเฉพาะจุด เนื่องจากไม่มีการแผ่รังสียูวีและอินฟราเรด - See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=7923#sthash.L2lnsBKm.dpuf

อุณหภูมิสี (Color Temperature)

การบอกสีทางด้านการส่องสว่างมักบอกด้วยอุณหภูมิสี ซึ่งหมายถึงสีที่เกิดจากการเผาไหมŒวัสดุสีดำซึ่งมีการดูดซับความร้อนได้สมบูรณด้วยอุณหภูมิที่กำหนด เช่น หลอดฟลูออเรสเซ็นต์คูลไวท์มีอุณหภูมิสี 6500 องศาเคลวิน หมายถึง เมื่อเผาวัตถุสีดำให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 6500 เคลวิน วัตถุนั้นจะเปล่งแสงออกมาเป็นสีคูลไวท์หรือขาวปนน้ำเงิน เป็นต้น ตัวอย่างอุณหภูมิสีของหลอดต่างๆ เป็นดังนี้

เทียนไข 1900 เคลวิน
หลอดทังสเตนฮาโลเจน 2700 เคลวิน
หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 2800 เคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซ็นต์
    - เดย์ไลท์ (Daylight) 6500 เคลวิน
    - คูลไวท์ (Cool White) 4500 เคลวิน
    - วอร์มไวท์ (Warm White) 3500 เคลวิน

ค่าประสิทธิผล (Effi cacy)
หมายถึง ปริมาณแสงที่ออกมาต่อวัตต์ที่ใช้ (ลูเมนต่อวัตต์) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูง หมายความว่าหลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้วัตต์ต่ำตัวอย่างค่าประสิทธิผลของหลอดไฟชนิดต่างๆ เช่น หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 5-13 ลูเมน/วัตต์ หลอดทังสเตนฮาโลเจน 12-22 ลูเมน/วัตต์ หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ 50-90 ลูเมน/วัตต์หลอดแสงจันทร์ 35-80 ลูเมน/วัตต์ หลอดแสงจันทร์แบบไม่มีบัลลาสต์ 30-60 ลูเมน/วัตต์หลอดแสงจันทร์แบบมีบัลลาสต์ 30-60 ลูเมน/วัตต์ หลอดเมตัลฮาไลด์ 60-120 ลูเมน/วัตต์หลอดโซเดียมความดันสูง 70-130 ลูเมน/วัตต์ หลอดโซเดียมความดันต่ำ 100-180 ลูเมน/วัตต์

ความถูกต้องของสี (Color rendering) หมายถึง สีที่ส่องไปถูกวัตถุให้ความถูกต้องของสีมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น เปอร์เซ็นต์หลอดที่มีค่าความถูกต้อง 100% หมายความว่าเมื่อใช้หลอดนี้ส่องวัตถุชนิดหนึ่งแล้ว สีของวัตถุที่เห็นไม่มีความเพี้ยนของสี ตัวอย่างค่าดัชนีความถูกต้องของสีของหลอดไฟชนิดต่างๆ ชนิดของหลอด CRI (Color Rendering index) เช่น หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ 100 CRI หลอดทังสเตนฮาโลเจน 100 CRI หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ 60-90 CRI หลอดแสงจันทร์ 80-90 CRI หลอดแสงจันทร์แบบมีบัลลาสต์ 40-60 CRI หลอดเมตัลฮาไลด์ 40-60 CRI หลอดโซเดียมความดันสูง 60-90 CRI หลอดโซเดียมความดันต่ำ 30-50 CRI

นอกจากนี้ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโคมไฟฟ้าที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอีกเช่นกัน

        1. ความปลอดภัยของโคม โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยตามเกณฑ์ด้วย เช่น ต้องไม่มีคมจนอาจเกิดอันตราย ต้องมีระบบการต่อลงดินในกรณีที่ใช้กับฝ้าสูงเพื่อไม่เป็นอันตรายกับคนที่มาเปลี่ยนหลอด
        2. ประสิทธิภาพของโคมไฟฟ้า (Luminaire Efficiency) โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานหมายถึงโคมที่มีประสิทธิภาพของโคมสูงที่สุด คือ ให้ปริมาณแสงออกมาจากตัวโคมเมื่อเทียบกับปริมาณแสงที่ออกจากหลอดให้มีค่าสูงที่สุด
        3. ค่าสัมประสิทธิ์การใช้งานของโคมไฟฟ้า (Coefficients of Utilization) ค่าที่ได้จากการวัดประสิทธิภาพของโคม โดยที่รวมผลของความสูงและสัมประสิทธิของการสะท้อนของผนังและเพดานโดยผู้ผลิต
        4. แสงบาดตาของโคม (Glare) เป็นค่าที่แสดงคุณภาพแสงของโคม ต้องเลือกโคมที่มีแสงบาดตาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
        5. กราฟการกระจายแสงของโคม (Distribution Curve) โคมมีหลายชนิดด้วยกันแต่ละโคมก็มีกราฟกระจายแสงของโคมต่างกัน การนำโคมไปใช้ต้องเลือกกราฟกระจายแสงของโคมที่เหมาะสมกับงาน
        6. การระบายความร้อนของโคม โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรจะมีการระบายความร้อนได้ดี ถ้ามีอุณหภูมิสะสมในโคมมากเกินไปอาจทำให้ปริมาณแสงที่ออกจากหลอดลดลง เช่น โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคก์ถ้าไม่มีการระบายความร้อนที่ดีปริมาณลดลงถึง 40% เป็นต้น
        7. อายุการใช้งาน โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานต้องพิจารณาอายุการใช้งานด้วย เช่น โคมต้องทำด้วยวัสดุที่สามารถใช้งานได้นานตามที่ต้องการโดยไม่ผุกร่อนและไม่มีการเปลี่ยนรูปเมื่อมีการบำรุงรักษาเนื่องจากการเปลี่ยนหลอดหรือทำความสะอาด
        8. สถานที่ติดตั้ง การเลือกใช้โคมแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำไปใช้งานอะไรบ้างต้องการคุณภาพแสงมากน้อยเพียงใด หรือเน้นในเรื่องของปริมาณแสงแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีการป้องกันทางกล ป้องกันน้ำ ฝุ่นผงมากน้อยเพียงใด

โดยเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการออกแบบแสงสว่างส่วนใหญ่จะเน้นถึงการประหยัดพลังงาน จึงมีการเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED เพื่อการตกแต่งและการใช้งานภายในอาคารกันมากขึ้น

ในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่ได้เข้ามาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการเปลี่ยนหลอดไฟมาใช้หลอด LED ที่ประหยัดพลังงานได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจการประหยัดพลังงานด้วยการหันมาใช้หลอดประหยัดไฟกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าแสงสว่างแล้วยังสามารถช่วยรัฐลดการลงทุนด้านโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่งรวมถึงการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้จากอาคารหลายๆ แห่งภายในเมือง

โดยบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างครบวงจร นับตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า นอกจากนี้บริษัทยังมีบริการเสริมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากที่สุด อาทิ แนะนำ การใช้ผลิตภัณฑ์รวมทั้งออกแบบระบบแสงสว่างให้เหมาะกับ ลักษณะของงาน ตลอดจนการให้บริการเช่าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับงานต่างๆ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความหลากหลายและครบครันสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่ใช้ไฟฟ้าแสงสว่างได้ทุกกลุ่ม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังคอยตอบสนองการออกแบบแสงสว่างเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้นายปกรณ์ บริมาสพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L&E ได้กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตของบริษัทฯ ว่า “บริษัทฯพร้อมเดินหน้าขยายฐานตลาดหลอด LED ประหยัดพลังงานอย่างเต็มตัว ทั้งตลาดค้าส่งตลาดค้าปลีก และตลาดลูกค้าองค์กร ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าวกำลังได้รับการตอบรับจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างดีเยี่ยมเนื่องจากเป็นนวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างล่าสุดและสามารถประหยัดพลังงานได้มากที่สุด สามารถรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ประกอบกับบริษัทฯ มีความพร้อมทั้งโรงงานการผลิต เทคโนโลยีรวมทั้งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยได้สร้างโรงงานผลิต ผลิตภัณฑ์ LED ขึ้น ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเป็นโรงงานแรกที่ผลิตหลอด LED ในประเทศไทย และพัฒนาสินค้าลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จนสามารถรองรับได้ทุกความต้องการของลูกค้า

ปัจจุบันเทคโนโลยี หลอดไฟLED ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วประสิทธิภาพหลอดไฟเพิ่มสูงขึ้นและราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ LED ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ประกอบการรวมทั้งสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าแสงสว่างคาดการณ์กันว่าภายในปี 2559 ผลิตภัณฑ์ LED จะมีส่วนแบ่งตลาดถึง 45% ของตลาดผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแสงสว่างทั้งหมดซึ่งหมายถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลอด LED ซึ่ง L&E ฐานะผู้นำในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่างของไทยและภูมิภาคอาเซียน เล็งเห็นถึงโอกาสดังกล่าวและพร้อมจะรองรับกับทุกความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่มค้าส่ง กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับทุกความต้องการของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ในราคาที่สมเหตุสมผล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น บริษัทฯ กำลังจะสร้างโรงงานแห่งใหม่ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 เพื่อรองรับกับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตด้วย”

Wednesday, August 28, 2013

วิธีการทดสบสประเภทต่างๆของก๊าซ


ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน




ต้องได้รับใบรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน
- หลังการทดสอบทางบริษัทจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบ และขออนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานเพื่อใช้งานได้ ระยะเวลาการทดสอบ 6 ปีแรก หลังติดตั้ง (กรณีถังใหม่) หลังจากนั้นทุก 5 ปี

การทดสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซ

1. การตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้สร้างถัง
        - การตรวจสอบความแข็งของวัสดุ (Hardness Testing)
        - การตรวจสอบความหนาของวัสดุ  (Thickness Testing)

2. การตรวจสอบผิวแนวเชื่อมภายนอก/ใน ถังด้วยผง
         แม่เหล็ก (Magnetic Particle Testing)
     3. การตรวจสอบหาสิ่งที่ผิดปกติภายในผิวแนวเชื่อม
        - การหลอมละลายที่ไม่ดี (Poor fusion)
        - การซึมลึกที่ไม่เพียงพอ (Shallow penetration)
    โดยวิธีใช้รังสีคลื่นแม่เหล็ก (Radiographic Testing)

4. ทดสอบด้วยแรงดันน้ำ (Hydrostatic Testing) ด้วยความ
         ดันประมาณ 4 เท่าของความดันใช้งาน (375 psi.)

การทดสอบระบบท่อก๊าซ

1. ทดสอบการรั่วซึมโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน หรือน้ำ ( Pressure Test )
2. ระบบท่อก่อนเครื่องปรับความดันทดสอบที่ความดัน 375 PSI
3. ระบบท่อหลังเครื่องปรับความดันทดสอบที่ความดัน 60 PSI
4. ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที - 1ชม. 
5. ใช้น้ำสบู่ตรวจสอบรอยรั่วบริเวณ ข้อต่ออุปกรณ์ต่างๆ, หน้าแปลน
     และแนวเชื่อม

Monday, June 3, 2013

การรับสายแก๊สสำหรับน้ำแก๊ส

ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน


เป็นอุปกรณ์รับและส่งถ่ายน้ำแก๊ส (Liquid Line) จากถังแก๊สเข้าไปในระบบท่อแก๊ส

คุณลักษณะพิเศษ
ปลาย สายแก๊สด้านที่ต่อเข้ากับหัววาล์วของถังแก๊สจะมี Excess Flow Valve ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำแก๊สที่ค้างอยู่ในสายไหลย้อนออกมาในขณะที่ปลดสาย แก๊สออกจากหัววาล์วของถังแก๊ส
สายแก๊สสำหรับไอแก๊ส 
หน้าที่
เป็นอุปกรณ์รับและส่งถ่ายไอแก๊ส (Vapor Line) จากถังแก๊สเข้าไปในระบบท่อแก๊ส

Thursday, October 18, 2012

ความเย็นที่ทำให้คนชบใจ แบบดูดซืม






เครื่องทำความเย็นแบบดูดซึม (Absorption Chiller) นับเป็นระบบทำความเย็นที่เป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่าด้านการใช้พลังงาน ถึงแม้ประสิทธิภาพตํ่ากว่าระบบทำความเย็นแบบอัดไอ แต่ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการทำความเย็นของระบบทำความเย็นแบบนี้จะมีแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ระบบการทำ ความเย็นระบบดูดซึมชนิดสามชั้น (Tri Stage Absorption Chiller) มีสมรรถนะการทำความเย็น ( COP) สูงถึง 1.7 เมื่อพิจารณาถึงส่วนประกอบของระบบทำ ความเย็นแบบดูดซึม

อาจกล่าวได้ว่า ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมมีส่วนประกอบคล้ายกับระบบอัดไอ คือ เครื่องควบแน่น (Condenser),เครื่องทำระเหย( Evaporator), วาล์วลดความดัน (Expansion Valve) และ เครื่องอัดสารทำความเย็น (Compressor) แต่ในส่วนของเครื่องอัด (Compressor) ในระบบดูดซึมจะเป็นเครื่องอัดชนิดความร้อน (Thermal Compressor) ซึ่งใช้พลังงานความร้อนในการขับเคลื่อนระบบแทน ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเครื่องดูดซึมความร้อน (Absorber) และอุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) ดังแสดงในรูปที่ 1 จากที่กล่าวมา ระบบทำความเย็นแบบดูดซึม เป็นระบบที่ใช้ความร้อนมาขับเคลื่อนระบบ ซึ่งมีความหลากหลายของแหล่งพลังงานความร้อนที่จะมาขับเคลื่อนระบบ ซึ่งเป็นจุดแข็งของเครื่องทำความเย็นแบบนี้ เช่น ใช้พลังงานความร้อนทิ้งจากกระบวนการหรืออุปกรณ์ทางความร้อน หรือแม้แต่พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ( Solar Thermal) หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าระบบอัดไอมาก ที่ต้องใช้พลังงานกลในการทำให้เครื่องอัดทำงาน



การประยุกต์ระบบ CCHP หรือ Tri-Generation สำหรับงานอาคาร

การใช้พลังงานภายในอาคารหรือที่พักอาศัย ประมาณร้อยละ 60-70 ใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร รองลงมาใช้ในระบบแสงสว่าง ประมาณร้อยละ 25 นอกจากนี้ ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรม หรืออพาร์ทเมนต์ จะมีระบบนํ้าร้อนเพิ่มด้วย เพื่อสำหรับการชำระร่างกายหรือการชำระล้าง หรืออาจกล่าวได้ว่า การใช้พลังงานของกลุ่มอาคารธุรกิจจะมีการใช้พลังงานความร้อน ความเย็น และไฟฟ้า ควบคู่กันไปตลอดเวลา และกลุ่มธุรกิจนี้มีแนวโน้มการใช้พลังงานสูงขึ้นทุกปี

ระบบทำความเย็นสำหรับระบบปรับอากาศในอาคาร

โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller)ซึ่งแบ่ง 2 ระบบใหญ่ คือ ระบบระบายความร้อนด้วยนํ้า หรือระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบทำความเย็นด้วยชิลเลอร์ จะอาศัยนํ้าเป็นตัวนำพาความเย็นไปยังห้องหรือจุดต่าง ๆ โดยนํ้าเย็นจะไหลไปยังเครื่องทำลมเย็น (Air Handing Unit – AHU หรือ FanCoil Unit - FCU) ที่ติดตั้งอยูใ่ นบริเวณที่ปรับอากาศ จากนั้นนํ้าที่ไหลออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำ นํ้าเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่อง และไหลเวียนกลับไปยังเครื่องทำ ลมเย็นอยู่เช่นนี้ สำ หรับเครื่องทำ น้ำ เย็นนี้จะต้องมีการนำความร้อนจากระบบออกมาระบายทิ้งภายนอกอาคารด้วย ดังแสดงในรูปที่ 2

บริเวณหรือห้องที่จะปรับอากาศจะมีแต่เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น โดยนำเย็นจะถูกส่งผ่านระบบท่อนํ้าเย็นจากเครื่องทำนํ้าเย็น (Chiller) โดยนํ้าเย็นจะมีอุณหภูมิประมาณ 6-8 oC ซึ่งจะไหลเข้าไปในเครื่องทำลมเย็นที่ประกอบด้วย แผงท่อนํ้าเย็นที่มีนํ้าเย็นไหลอยู่ภายในแผ่นกรองอากาศ โดยทั่วไปเครื่องทำลมเย็นจะประกอบด้วย แผงใยอะลูมิเนียม พัดลม และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศจากบริเวณที่ปรับอากาศให้ไหลผ่านแผ่นกรองและแผงท่อนํ้าเย็นหลักจากนํ้าเย็นแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายในบริเวณที่ปรับอากาศจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ประมาณ 10-13 oC และเคลื่อนที่กลับไปยังเครื่องทำนํ้าเย็นอีกครั้งเพื่อลดอุณหภูมิลง ระบบทำความเย็นจะทำงานแบบนี้ต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อปรับอากาศในอาคารให้อยู่ในอุณหภูมิที่กำหนด

Thursday, May 10, 2012

การติดตั้งอุปกรณ์สลับข้างการใช้ก๊าซโดยอัตโนมัติ

ขอขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน




ลักษณะการติดตั้งใช้งาน
 จะติดตั้งอยู่ระหว่างชุดท่อแก๊ส (Manifold) ของน้ำแก๊สทั้ง 2 ด้าน

นอก จากนี้ จะมีชุด By-Pass Valve อยู่ 2 ชุดสำหรับในกรณีที่ Automatic Change-Over มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ ก็ให้เปิด By-Pass Valve ใช้งานแทน
การทำงานและข้อสังเกตุ

เมื่อใช้แก๊สด้านใดด้านหนึ่งหมด Automatic Change Over จะเปลี่ยนข้างไปใช้แก๊สด้านตรงกันข้ามให้จ่ายแก๊สเข้ามาแทนที่โดยอัตโนมัติ และให้สังเกตุสัญลักษณ์แถบสีตรงกลางจะเปลี่ยนจากสีขาวไปเป็น สีแดง ซึ่งแสดงว่าได้มีการเปลี่ยนข้างการจ่ายแก๊สไปแล้ว

ให้โยกก้านบอกทิศ ทางที่ตัว Automatic Change Over ไปยังด้านฝั่งตรงกันข้าม และสังเกตสัญลักษณ์แถบสีตรงกลางจะเปลี่ยนจากสีแดงไปเป็น สีขาว แสดงว่ากำลังใช้แก๊สฝั่งที่ก้านบอกทิศทางชี้อยู่

Monday, February 20, 2012

ส่วนประกองของชุด Booster PUMP

ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน





การทำงานของตู้ Gas Detector Control Panel ข้อแนะนำก่อนทำการเปิดใช้งาน

 - ตรวจสอบความพร้อมของ Power Supply ที่จ่ายเข้ามาที่ตู้ควบคุม ซึ่งต้องการ 220 VAC ± 10%
 - ไฟแสดงสถานะของหลอดไฟทุกดวงหน้าตู้ ต้องดับทั้งหมด
หมายเหตุ :-
 - ตู้ Gas Detector Control Panel และ Control For Gas Detector EWOO จะติดตั้งอยู่ที่ Control Room
 - ตู้ Gas Alarm Control Panel จะติดตั้งอยู่ที่ Security Room ขั้นตอนการเปิดใช้งาน
1.) เปิด Breaker ภายในตู้ให้อยู่ที่ตำแหน่ง On หลอดไฟแสดงสถานะ Power - On และ Valve - Off จะสว่าง หลอดไฟแสดงสถานะดวงอื่นจะดับ พร้อมกับ Buzzer จะไม่ส่งเสียงร้อง ขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Gas Detector กำลังทำงานพร้อมจะตรวจจับก๊าซ และ Solenoid Valve พร้อมทำงาน ซึ่งอยู่ในสถานะ ปิดการจ่ายก๊าซ
2.) เมื่อต้องการเริ่มใช้แก๊สให้กดปุ่ม On หลอดไฟแสดงสถานะ Valve - On จะสว่างขณะนี้ ตู้แจ้งให้ทราบว่า Solenoid Valve ทำงานเปิดการจ่ายก๊าซอยู่
 3.) เมื่อ Gas Detector ที่ติดตั้งบริเวณจุดใช้งาน ตรวจจับก๊าซรั่วได้ จะส่งสัญญาณมาที่ Control For Gas Detector For EWOO และ จะส่งเสียงร้องดังขึ้น พร้อมบอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของก๊าซที่รั่ว และไฟแสดง สถานะจะสว่าง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือของอุปกรณ์) ในขณะที่จับก๊าซรั่วได้ และขณะเดียวกัน จะส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ Gas Detector Control Panel หลอดไฟแสดงสถานะ Detector และ Valve-Off จะสว่าง พร้อมกับ Buzzer ส่งเสียงร้องดังขึ้น ในขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Gas Detector จับก๊าซรั่วได้ และ Solenoid Valve ปิดการจ่ายก๊าซแล้ว
 4.) กดปุ่ม Reset ที่ตู้ Gas Detector Control Panel เพื่อแสดงการรับทราบของสัญญาณที่แจ้ง ซึ่งจะทำให้เสียงร้องของ Buzzer หยุดลง แต่ไฟแสดงสถานะ Detector ยังสว่างอยู่ เนื่องจาก Gas Detector ยังมีการจับปริมาณก๊าซรั่วได้ (ไฟแสดงสถานะ Detector จะดับลง เมื่อ Gas Detector ตรวจจับไม่พบกลิ่นก๊าซรั่ว)
5.) จากนั้นให้ทำการตรวจสอบบริเวณที่เกิดก๊าซรั่ว และให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย
6.) เมื่อตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย และต้องการใช้ก๊าซ ให้ทำการลดปุ่ม On หลอดไฟสถานะ Valve - Off จะดับลง และ Valve-On จะสว่าง ขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Solenoid Valve ได้ทำการ เปิดการจ่ายก๊าซแล้ว
 หมายเหตุ : ในกรณีที่ Gas Detector ยังจับก๊าซรั่วได้อยู่ จะไม่สามารถกดปุ่ม Valve-On เพื่อสั่ง ให้ Solenoid Valve เปิดการจ่ายก๊าซได้ ต้องรอจนกว่า Gas Detector
ตรวจจับไม่พบก๊าซรั่ว ข้อควรระวัง :- การเข้าสายภายในตู้
 - ตรวจเช็คสายไฟให้พร้อม ระวังการลัดวงจรภายใน อาจจะทำให้ตู้ Control ไม่ทำงาน Gas Detector - ระวังไม่ให้ Gas Detector โดนน้ำ, สเปรย์, ยาฆ่าแมลง หรือสารที่ทำให้เกิดการติดไฟ เพราะ จะทำให้ Gas Detector ส่งเสียงร้องขึ้น หรือเกิดความเสียหาย
- เมื่อ Gas Detector ส่งเสียงร้องดังเตือนขึ้น ให้หาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด จึงค่อยทำการแก้ไข - ตู้ Gas Detector Control Panel และ Control For Gas Detector EWOO จะติดตั้งอยู่ที่ Control Room
- ตู้ Gas Alarm Control Panel จะติดตั้งอยู่ที่ Security Room

Thursday, December 22, 2011

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการประหยัดไฟฟ้า







ว่าด้วยเรื่องการประหยัด อาจรับรู้รับฟังมาจากหลากหลายสื่อ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำ แต่เคยถามตัวเองสักครั้งไหม สิง่ที่เรารับรู้รับฟังมานั้น เราท่านได้นำมาปฏิบัติกันมากน้อยเพียงไร ซึ่งมนุษย์เรามักดำเนินชีวิจในรูปแบบเดิมๆ หรือเอาแต่เรื่องของความสะดวกสบายส่วนเข้าตัวเข้าว่าจริงหรือไม่ ฉะนั้นเรื่องการประหยัดไฟฟ้าหรือพลังงานรูปแบบอื่น จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร แต่เป็นเรื่องเก่าที่เรานำมาเล่าใหม่เพื่อให้จำฝั่งใจนั้นเอง

อันที่จริง… เรื่องการประหยัดไฟฟ้านั้น อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่มีเรื่องของสภาพอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทวีปที่มีอากาศหนาว อากาศร้อน รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง การใช้หลอดไฟในครัวเรือนของสหรัฐอเมริกามากกว่ายุโรป 3 เท่า ใช้ตู้เย็นมากกว่ายุโรป 2 เท่า ซึ่งแต่ละทวีปหรือแต่ละประเทศมีการใช้ไฟฟ้ามากน้อยต่างกันไม่ได้ชี้ว่าจะมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากหรือน้อยกว่ากัน แต่สิ่งที่บ่งชี้ถึงการใช้ไฟฟ้า คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ว่ามีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามากน้อยเพียงไร

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงจะกินไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพต่ำ 2-10 เท่า ทั้งที่มีการทำงานเหมือนกัน ซึ่งการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัด จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อปีได้เป็นจำนวนมาก โดยได้รับความสะดวกสบายเหมือนเดิมประเทศไทยและอีกหลายประเทศมีกฎข้อบังคับที่ต้องติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพไว้ในเครื่องใช้แทบทุกประเภท โดยในประเทศไทยใช้ฉลากตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5 เป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของการประหยัดพลังงาน ในยุโรปรูปแบบฉลาก A++ หมายถึง ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด รองลงไปก็คือ A+, A, B, D ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพที่ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ในสหรัฐอเมริกามีการใช้สัญลักษณ์ดาวในฉลากพลังงาน เพื่อบอกถึงประสิทธิภาพการประหยัดไฟฉลากเบอร์ 5 หมายถึง ประหยัดไฟได้มากที่สุดสำหรับประเทศไทย แน่นอนว่าอาจมีราคาที่สูงกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพต่ำ แต่ในระยะยาวจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากโดยที่เราไม่รู้ตัว

อีกหนึ่งตัวแปลที่หลายคนมองข้ามกับการสูญเสียจากการ Standby เครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียพลังงานอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันจะกินไฟแม้ขณะที่ปิดเครื่อง โดยเฉพาะ ทีวี เครื่องเล่น DVDเครื่องเสียง จอคอมพิวเตอร์ กล่องเคเบิล และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ จะมีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้เสียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียกใช้งาน หากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทางออกที่ดีที่สุด คือ การหาซื้อเครื่องใช้ที่กินไฟในการใช้พลังงานสำรองต่ำๆ ซึ่งจะระบุการใช้พลังงานสำรองไว้ในคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์และสามารถตรวจสอบได้ก่อนซื้อ และสิ่งที่หลายคนยังไม่ทราบ คือ ค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เสียไปในโหมด Standby ตลอดอายุการใช้งานอาจสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เลยทีเดียว

เชื่อหรือไม่ว่า การใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลือง เป็นสาเหตุก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เพราะไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นพลังงานที่เกิดจากการเผาผลาญถ่านหินน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามา กระบวนการพวกนี้จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ ดังนั้น แค่ประหยัดไฟก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว

ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับการที่เราจะใส่ใจในเรื่องของการประหยัดไฟฟ้าการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยนั้น อย่างที่ภาครัฐสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จนติดตาติดใจว่า การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าควรมองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นหลัก แต่มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกอื่นๆให้เราเลือกพิจารณาอีก คือ สัญลักษณ์ Green–Label ฉลากเขียว อันนี้เป็นโครงการที่มีการร่วมมือกันจากหลายฝ่าย โดยมีคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อที่จะพิจารณาออกฉลากเขียวนี้ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และสัญลักษณ์ Eco–Friendly หรือ Eco– Labelเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ย่อยสลายง่าย นำไปรีไซเคิลได้ และอื่นๆ

อย่าเพิ่งเบื่อกับการนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะเรื่องของพลังงานเป็นเรื่องที่เราสามารถพูดถึงกันได้หลายช่วงอายุคน เพราะยังไงเสีย โลกกลมๆ ใบนี้ยังต้องพึ่งพาพลังงานต่อไปอีกนาน การที่เราจะประหยัดพลังงานหรือไฟฟ้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในกระเป๋านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก คิดเสียว่า ทำก่อน ก็ประหยัดก่อน จริงหรือไม่?

Tuesday, November 22, 2011

ระบบปฏิบัติงานของตู้ (GAS DETECTOR CONTROL PANEL)


ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน









การทำงานของตู้ Gas Detector Control Panel ข้อแนะนำก่อนทำการเปิดใช้งาน

 - ตรวจสอบความพร้อมของ Power Supply ที่จ่ายเข้ามาที่ตู้ควบคุม ซึ่งต้องการ 220 VAC ± 10%
 - ไฟแสดงสถานะของหลอดไฟทุกดวงหน้าตู้ ต้องดับทั้งหมด
หมายเหตุ :-
 - ตู้ Gas Detector Control Panel และ Control For Gas Detector EWOO จะติดตั้งอยู่ที่ Control Room
 - ตู้ Gas Alarm Control Panel จะติดตั้งอยู่ที่ Security Room ขั้นตอนการเปิดใช้งาน
1.) เปิด Breaker ภายในตู้ให้อยู่ที่ตำแหน่ง On หลอดไฟแสดงสถานะ Power - On และ Valve - Off จะสว่าง หลอดไฟแสดงสถานะดวงอื่นจะดับ พร้อมกับ Buzzer จะไม่ส่งเสียงร้อง ขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Gas Detector กำลังทำงานพร้อมจะตรวจจับก๊าซ และ Solenoid Valve พร้อมทำงาน ซึ่งอยู่ในสถานะ ปิดการจ่ายก๊าซ
2.) เมื่อต้องการเริ่มใช้แก๊สให้กดปุ่ม On หลอดไฟแสดงสถานะ Valve - On จะสว่างขณะนี้ ตู้แจ้งให้ทราบว่า Solenoid Valve ทำงานเปิดการจ่ายก๊าซอยู่
 3.) เมื่อ Gas Detector ที่ติดตั้งบริเวณจุดใช้งาน ตรวจจับก๊าซรั่วได้ จะส่งสัญญาณมาที่ Control For Gas Detector For EWOO และ จะส่งเสียงร้องดังขึ้น พร้อมบอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของก๊าซที่รั่ว และไฟแสดง สถานะจะสว่าง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือของอุปกรณ์) ในขณะที่จับก๊าซรั่วได้ และขณะเดียวกัน จะส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ Gas Detector Control Panel หลอดไฟแสดงสถานะ Detector และ Valve-Off จะสว่าง พร้อมกับ Buzzer ส่งเสียงร้องดังขึ้น ในขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Gas Detector จับก๊าซรั่วได้ และ Solenoid Valve ปิดการจ่ายก๊าซแล้ว
 4.) กดปุ่ม Reset ที่ตู้ Gas Detector Control Panel เพื่อแสดงการรับทราบของสัญญาณที่แจ้ง ซึ่งจะทำให้เสียงร้องของ Buzzer หยุดลง แต่ไฟแสดงสถานะ Detector ยังสว่างอยู่ เนื่องจาก Gas Detector ยังมีการจับปริมาณก๊าซรั่วได้ (ไฟแสดงสถานะ Detector จะดับลง เมื่อ Gas Detector ตรวจจับไม่พบกลิ่นก๊าซรั่ว)
5.) จากนั้นให้ทำการตรวจสอบบริเวณที่เกิดก๊าซรั่ว และให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย
6.) เมื่อตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย และต้องการใช้ก๊าซ ให้ทำการลดปุ่ม On หลอดไฟสถานะ Valve - Off จะดับลง และ Valve-On จะสว่าง ขณะนี้ตู้แจ้งให้ทราบว่า Solenoid Valve ได้ทำการ เปิดการจ่ายก๊าซแล้ว
 หมายเหตุ : ในกรณีที่ Gas Detector ยังจับก๊าซรั่วได้อยู่ จะไม่สามารถกดปุ่ม Valve-On เพื่อสั่ง ให้ Solenoid Valve เปิดการจ่ายก๊าซได้ ต้องรอจนกว่า Gas Detector
ตรวจจับไม่พบก๊าซรั่ว ข้อควรระวัง :- การเข้าสายภายในตู้
 - ตรวจเช็คสายไฟให้พร้อม ระวังการลัดวงจรภายใน อาจจะทำให้ตู้ Control ไม่ทำงาน Gas Detector - ระวังไม่ให้ Gas Detector โดนน้ำ, สเปรย์, ยาฆ่าแมลง หรือสารที่ทำให้เกิดการติดไฟ เพราะ จะทำให้ Gas Detector ส่งเสียงร้องขึ้น หรือเกิดความเสียหาย
- เมื่อ Gas Detector ส่งเสียงร้องดังเตือนขึ้น ให้หาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด จึงค่อยทำการแก้ไข - ตู้ Gas Detector Control Panel และ Control For Gas Detector EWOO จะติดตั้งอยู่ที่ Control Room
- ตู้ Gas Alarm Control Panel จะติดตั้งอยู่ที่ Security Room

Thursday, October 20, 2011

อันตรายเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า




สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้มีประชาชนเดือดร้อนกันเป็นจำนวนมาก อีกปัญหาที่นับว่าน่ากลัวไม่แพ้สัตว์มีพิษชนิดต่างๆ ที่หนีน้ำขึ้นมาอยู่ตามบ้านเรือนของประชาชน นั่นคือ "กระแสไฟฟ้ารั่ว" ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงชีวิต
                
ภัยจากไฟดูดเป็นอันตรายที่ซ่อนตัวได้แนบเนียนระหว่างเกิดอุทกภัย เพราะมองด้วยตาเปล่าไม่อาจบอกได้เลยว่าพื้นที่ใดมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่
                
ตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากการเกิดไฟฟ้าช็อตหลายราย จึงมีหลายหน่วยงานพยายามคิดค้นเครื่องตรวจกระแสไฟฟ้า หรือเครื่องตัดกระแสไฟเพื่อป้องกันอันตราย
                
เช่นเดียวกับการคิดค้น "เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว" ในน้ำ ซึ่งเป็นแนวคิดของ นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                
อาจารย์ดุสิต กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ "เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว" เพราะเล็งเห็นว่าเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมบ้าน หลายคนคิดว่าหากเกิดน้ำท่วมถึงเต้าไฟในบ้าน เมื่อตัดเบรกเกอร์แล้วก็ป้องกันไฟฟ้ารั่วได้ แต่ที่จริงแล้วยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่
                
"แม้ว่ามีบ้าน 2 ชั้น น้ำท่วมที่ชั้น 1 ตัวเต้าไฟอยู่ชั้น 2 แต่ก็ทำให้น้ำซึมผ่านระบบไฟฟ้าได้เหมือนกัน แม้แต่กระดาษทิชชู่ที่ดูดน้ำขึ้นไป ก็ทำให้ตัวเต้าระเบิดถึงช็อต ถึงแม้จะมีสายดินก็ตาม"
                
อาจารย์ดุสิต ระบุว่า เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว ที่ประดิษฐ์มี 2 แบบ คือ เครื่องที่ช่วยตรวจวัดไฟฟ้ารั่วในน้ำ หรือชื่อว่า "เป็ดกระปุก" ที่นำกระปุกพลาสติกมาประยุกต์ต่อกับวงจรไฟฟ้า เมื่อจุ่มเป็ดกระปุกตัวนี้สามารถทราบได้ว่าน้ำท่วมบริเวณนั้นมีไฟรั่วไหลออกมาหรือไม่
                
นอกจากนี้หากอยู่ในพื้นที่น้ำลึกจะมีตัวที่ลักษณะการใช้งานเหมือนกันแต่เพิ่มท่อพีวีซี ที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร เพื่อตรวจไฟรั่วในน้ำในกรณีที่อยู่ในเรือ หรือน้ำที่มีความลึก ซึ่งเสี่ยงอย่างยิ่งหากน้ำท่วมแต่ไฟฟ้าไม่ถูกตัดถึงแม้จะมีสายดินก็ตาม อีกเครื่องคือ เครื่องตัดไฟ ซึ่งเครื่องนี้ตัดไฟได้ทันทีหากเกิดไฟรั่ว ลักษณะคล้ายปลั๊กไฟสำรองสามารถนำไปวางต่อกับปลั๊กไฟของบ้าน เพื่อป้องกันกรณีที่เกิดไฟรั่ว อุปกรณ์จะตัดสัญญาณทันที
                
แนวคิดในการประดิษฐ์อุปกรณ์ชุดนี้ อาจารย์ดุสิต กล่าวว่า ตอนนี้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด มีหลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือและมีผู้ประสบภัยอีกมากที่ไม่สามารถทราบเลยว่าบริเวณที่เราอาศัยอยู่มีไฟฟ้ารั่วในพื้นที่หรือไม่ เสี่ยงอย่างยิ่งว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต

"เครื่องมือที่ทำขึ้นไม่ใช่เพื่อกันไฟไหม้ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า แต่กันคนเสียชีวิต เพราะเครื่องทั้ง 2 แบบ สามารถช่วยท่านตรวจและตัดไฟฟ้ารั่วในน้ำ อุปกรณ์ทั้งหมดจะนำไปแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน"

ทั้งนี้ สำหรับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมขณะนี้แม้จะลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องระมัดระวังกระแสไฟฟ้าที่อาจรั่ว จนถูกไฟดูดจนเสียชีวิต สิ่งสำคัญต้องไม่ประมาท

Tuesday, October 18, 2011

ความดีเด่นและ คุณสมบัติของระบบผลังงาน EMERGENCY SHUT OFF VALVE SYSTEM

ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน




เป็นระบบเพื่อความปลอดภัยบริเวณโรงบรรจุ และบริเวณสถานีแก๊ส ซึ่งจะมีสวิทช์กดเพื่อ ควบคุม ( Emergency Stop ) Motor ของ LPG Pump 2 ตัว ให้หยุดทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงสั่งให้อุปกรณ์ Emergency Shut Off Valve ทั้ง 2 ตัว ที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งก่อนเข้า LPG Pump ปิดการจ่ายก๊าซทันที โดยการควบคุมของ Pneumatic System ซึ่งทำให้ การจ่ายก๊าซ LPG จากสถานีแก๊สไปยังโรงบรรจุจะหยุดลง ขณะเดียวกัน อุปกรณ์ Automatic Shut Off Valve ที่ควบคุมระบบ Cooling Water บริเวณโรงบรรจุ และ บริเวณกลุ่มถังแก๊ส จะเปิด การฉีดละอองน้ำให้ทำงานทันที เช่นเดียวกันระบบควบคุมดังกล่าวนี้ จะทำงานกรณีที่ เกิดก๊าซรั่ว บริเวณ พื้นที่โรงบรรจุก๊าซ หรือ บริเวณสถานีจ่ายแก๊ส และเมื่อเครื่องส่งสัญญาณเตือนก๊าซรั่ว (Gas Detector) ตรวจจับก๊าซที่รั่วได้ จะส่งสัญญาณสั่งให้ Emergency Shut Off Valve System ทำงานในลักษณะ เดียวกันกับที่ได้กล่าวมาข้างต้น คุณสมบัติ
1.) เมื่อต้องการหยุดการจ่ายแก๊สจากสถานีแก๊สไปที่โรงบรรจุ (Emergency Case)    
ให้กดปุ่ม Emergency Stop ที่ตู้ Emergency Control Panel ระบบจะทำการ        
         - สั่ง Emergency Shut Off Valve ปิดการจ่ายแก๊ส
         - สั่ง motor ที่ควบคุม LPG Pump ทั้ง 2 ชุด หยุดทำงาน
         - สั่ง เปิดระบบการฉีดละอองน้ำ (Cooling Water) บริเวณพื้นที่ โรงบรรจุ 
           และ บริเวณพื้นที่กลุ่มถังแก๊ส ให้ทำงาน
    2.) เมื่อเครื่องส่งสัญญาณเตือนแก๊สรั่ว (Gas Detector) ตรวจจับแก๊สรั่วได้บริเวณพื้นที่    
โรงบรรจุ หรือ บริเวณพื้นที่สถานีแก๊ส ระบบจะทำการ        
         - สั่ง Emergency Shut Off Valve ปิดการจ่ายแก๊ส
         - สั่ง motor ที่ควบคุม LPG Pump ทั้ง 2 ชุด หยุดทำงาน
         - สั่ง เปิดระบบการฉีดละอองน้ำ (Cooling Water) บริเวณพื้นที่ โรงบรรจุ 
           และ บริเวณพื้นที่กลุ่มถังแก๊ส ให้ทำงาน
        
หมายเหตุ     - ภายในตู้ Emergency Control Panel จะมี Free Contact 1 ชุด เพื่อให้ทางโครงการมาเชื่อม    
        ต่อสัญญาณเข้ากับระบบ Fire Alarm (ถ้าต้องการใช้งาน)

Tuesday, October 11, 2011

กลไกของบอลวาล์วควบคุมการไหลทางเดียว

ขอขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน





หน้าที่
ปิด-เปิด ควบคุมทิศทางการไหลของไอแก๊สที่ไหลมาจากถังแก๊สเพื่อเข้าไปสู่ระบบท่อแก๊ส หรือชุดมานิโฟด์ (Manifold) ซึ่งจะไหลไปในทิศทางเดียวจะไม่ไหลย้อนกลับ

คุณลักษณะพิเศษ
โครงสร้างภายในจะมี Check Valve อยู่ในตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ไอแก๊สไหลย้อนกลับในกรณีที่เปิดวาล์วแบบทันทีทันใด

วาล์วนิรภัยแบบลดความดัน 


หน้าที่
เป็นวาล์วลดความดัน ในกรณีที่ความดันในท่อแก๊สสูงขึ้นมากกว่าความดันปกติที่รับได้ (ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตาม)

เมื่อ ความดันแก๊สในระบบท่อมี่ค่าสูงเกินกว่าค่าความดันระบาย ( Relief Pressure ) แก๊สจะถูกระบายออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อท่อแก๊ส
มาตรวัดความดัน

หน้าที่
วัดความดันแก๊สที่อยู่ในระบบท่อ


 บริเวณหน้าปัทม์จะบอกถึงปริมาณความดันที่วัดได้ ซึ่งจะมีช่วงการวัดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดตั้งและหน่วยที่ วัดได้ โดยอ่านจากสเกลที่หน้าปัทม์ ซึ่งจะบอกเป็น:
- PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- Bar (บาร์)
- Kgf/cm2 หรือ mmAq (มิลลิเมตรน้ำ)
เป็นต้น
บอลวาล์ว


 หน้าที่
ปิด-เปิดเพื่อควบคุมการไหลของแก๊ส

ลักษณะการติดตั้งใช้งาน
สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน

บริเวณข้อต่อของวาล์วจะเป็นเกลียวในทั้งด้านแก๊สเข้าและออก

การติดตั้งวาล์วเข้ากับระบบท่อทำได้โดยการขันวาล์วเข้ากับท่อที่ต๊าฟเกลียวไว้

ขนาดของวาล์วที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
อุปกรณ์กรองลักษณะตัววาย

หน้าที่
กรองเศษสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดอยู่ภายในระบบท่อ รวมไปถึงเศษกากซึ่งเกิดจากความสกปรกของเนื้อก๊าซ

ลักษณะการติดตั้งใช้งาน
จะ ถูกออกแบบให้ติดตั้งก่อนเข้าอุปกรณ์ Automatic Change-Over และเครื่องต้มแก๊ส (Vaporizer) เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลงได้

Tuesday, September 27, 2011

การก่อสร้างบันไดหนีไฟที่ทันสมัย





การสร้างบันไดหรือบันไดหนีไฟในอาคารนั้น ต้องมีมาตรฐานการสร้างบันได ตามพรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนด มิเช่นนั้นหากละเลยอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ ในอาคารขนาดใหญ่ อาทิ โรงมหรสพ หอประชุม โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอสมุด ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ท่าอากาศยาน สถานีขนส่งมวลชน ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จำเป็นต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทาง และต้องมีทางเดินไปยังทางหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง

               สำหรับอาคารสาธารณะที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 1 ชั้น ขึ้นไป นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว ะต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทางด้วย อาคารที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่งสำหรับบันไดหนีไฟนั้นต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและถาวร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ชานพักกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได มีราวบันไดสูง 90 เซนติเมตร ห้ามสร้างบันไดหนีไฟเป็นแบบบันไดเวียนพื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ในกรณีที่ใช้ทางลาดหนีไฟแทนบันไดหนีไฟ ความลาดชันของทางหนีไฟดังกล่าวต้องมีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 12 ของพื้นที่

               บันไดหนีไฟภายในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีผนังที่ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและถาวรกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.40 ตารางเมตร โดยต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน บันไดหนีไฟภายในอาคาร ที่เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ไม่สามารถเปิดช่องระบายอากาศได้ ต้องมีระบบอัดลมภายในช่องบันไดหนีไฟที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสกาลมาตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และบันไดหนีไฟที่ลงหรือขึ้นสู่พื้นของอาคารนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก

               ส่วนตึกแถวหรือบ้านแถวที่มีจำนวนชั้นไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตรจากระดับถนน บันไดหนีไฟจะอยู่ในแนวดิ่งก็ได้แต่ต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น โดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ระยะห่างของขั้นบันไดแต่ละขั้นไม่มากกว่าที่ตั้งบันไดหนีไฟต้องมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตันไม่เกิน 10 เมตร ระยะห่างระหว่างบันไดหนีไฟตามทางเดินต้องไม่เกิน 60 เมตร ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดหรือดาดฟ้าสู่พื้นดินถ้าเป็นบันไดหนีไฟภายในอาคารและถึงพื้นชั้น 2 ถ้าเป็นบันไดหนีไฟภายนอกอาคาร และประตูของบันไดหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ต้องเป็นบานเปิดชนิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้น

               ชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่ออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีขั้นหรือธรณีประตูหรือขอบกั้น นอกจากนี้ยังต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟ ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินบริเวณหน้าทางออกสู่บันไดหนีไฟ และทางออกจากบันไดหนีไฟ สู่ภายนอกอาคารหรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัย โดยป้ายดังกล่าวต้องแสดงข้อความทางหนีไฟ เป็นอักษรมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างและแสดงว่าเป็นทางหนีไฟให้ชัดเจนอีกด้วย

Friday, September 16, 2011

วิธีการติดตั้งชุดหัวปรับแรงดันก๊าซ

ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน




Friday, September 2, 2011

วิธีป้องกัน และฏิบัติไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ



ขอขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน




ผนการตรวจสอบการใช้งานและความปลอดภัย
1. การตรวจสอบประจำวัน
    - การทำงานของหัวปรับความดัน
    - ปริมาณและความดันก๊าซภายในถัง
    - การทำงานของหม้อต้มไอก๊าซ (ระดับน้ำ , อุณหภูมิภูมิน้ำ  , ตู้ควบคุม)
    - ความปลอดภัยรอบบริเวณสถานที่ใช้ก๊าซ เช่น กองวัสดุที่ติดไฟง่าย
    - กลิ่นเมอร์แคปแทน
    - ตะกอนก๊าซภายใน Oil Trap
1. การตรวจสอบประจำเดือน
    - ตรวจสอบตามหัวข้อการตรวจสอบประจำวัน
    - ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊าซด้วยน้ำสบู่
    - ตรวจสอบการทำงานของเครื่องตรวจจับก๊าซรั่ว
    - ความสะอาดของน้ำภายในหม้อต้มไอก๊าซ,ตะกอนก๊าซ
    - ความดันของถังดับเพลิง และปริมาณผงเคมีแห้งภายในถัง
    - การทำงานของระบบน้ำลดอุณหภูมิหลังถังหลังถัง และระบบดับเพลิง
    - การทำงานของอุปกรณ์ เช่น Gauge และ Valve ต่างๆ
การตรวจสอบหารอยรั่ว
ใช้น้ำสบู่ลูบไล้หรือฉีดตามจุดต่าง ๆ ดังนี้
บริเวณวาล์ว
บริเวณเครื่องปรับความดัน
บริเวณข้อต่อ, เกลียว ต่างๆ
บริเวณหน้าแปลน

Wednesday, August 31, 2011

ขนาดและประเภทของถังบรรจุก๊าซ

ขอคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน






1. ปริมาณความจุไม่เกิน 500 ลิตร ( ประมาณ 250 กิโลกรัม )
    เรียกว่าถังก๊าซหุงต้ม ( Cylinder )
2. ปริมาณความจุเกิน 500 ลิตร
    เรียกว่าถังเก็บและจ่ายก๊าซ ( Bulk หรือ Bullet )

Tuesday, August 30, 2011

การาจัดพื้นที่ของโรงแรม

วิธีการจักระเบียบสิ่งแวดล้อมของโรงแรง ทรูสยาม กรุงเทพ คุณสามารถมาพักโรงได้โดยมีราคาเริ่มตั้งแต่ 1600-2500 รวมอาหารเช้า พักได้สองท่าน